ช่วงที่ผ่านมามีหลายคนมาสอบถามเรื่องการเปิดร้านขายคราฟท์เบียร์ หลายคนเริ่มจากที่เป็นคนดื่มแล้วก็ผันตัวเองไปเปิดร้าน เพื่อจะได้ทำสิ่งที่รักเป็นอาชีพ ไหนๆ ก็กินมันทุกวันแล้ว เปิดขายมันเลยซะละกัน ฮ่าๆ และอีกหลายๆ ท่านก็อาจจะยังไม่รู้ข้อมูลมากเท่าไหร่
บทความนี้ผมเลยขอเขียนและรวบรวมข้อมูลเท่าที่พอจะรู้ เป็นข้อมูลที่หลายๆ ท่านอาจจะทราบแล้ว แต่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับอีกหลายๆ ท่านที่เป็นมือใหม่ อาจจะมีถูกผิดบ้างแนะนำกันได้ครับ ซึ่งต้องขอออกตัวไว้ด้วยว่าไม่ได้เป็นกูรูหรือผู้ชำนาญอะไร คิดซะว่าเป็นการเล่าสู้กันฟังครับ
โดยจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ คร่าวๆ เกี่ยวกับ 1.ผู้นำเข้าเบียร์ 2.ระบบเก็บและเสิร์ฟเบียร์ 3.แก้ว 4.โลเคชั่น 5.กิจกรรม 6.อื่นๆ ทั่วไป
เรื่องแรกจะขอเริ่มด้วยเรื่องยี่ห้อเบียร์ต่างๆที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เป็นคำถามที่ผมมักจะได้รับเสมอว่าจะหาซื้อราคาค่าส่ง ราคายกลังได้จากที่ไหน ราคาที่ร้านของผมมีราคาส่งไหม

ตัวอย่างชื่อผู้นำเข้า (Burnside นี่คือ Berrvana นะครับ)
เลยมีวิธีการที่ง่ายที่สุดว่าอยากจะได้เบียร์ตัวไหนมาขายให้ดูจากฉลากข้างขวดได้เลยครับ เกือบทุกยี่ห้อจะมีชื่อบริษัทผู้นำเข้า ให้เราติดต่อไปได้เลยว่า อยากเปิดร้าน ต้องการเบียร์มาขาย ทางบริษัทจะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อและดูแลเราเป็นอย่างดี ผมขอรวบรวมบริษัทนำเข้าเอาไว้ให้ด้วยเลยครับ
รายชื่อผู้นำเข้าเบียร์
ชื่อผู้นำเข้า | ตัวอย่างยี่ห้อเบียร์ | |||
---|---|---|---|---|
Beervana | Stone, Deschutes, Rogue, Founders | |||
Smiling Mad Dog | BrewDog, Ballast Point, Evil Twin, Lost Coast | |||
Hopsession | Mikkeller, To Ol, Lervig, Modern Times, | |||
Captain Barrel | De Molen, La Trappe, Oud, Beersel | |||
Drinkable | Heretic, Holgate | |||
Amber Spot | Schneider Weisse, Ayinger, Thornbridge | |||
Drinkwise | Hitachino | |||
B-Delicious | Vedett, Duvel, Little Creatures | |||
BelBev | Tripel Karmeliet, Orval, Trappistes Rochefort | |||
Bavarian Craft | FRAU GRUBER, YANKEE & KRAUT, HIMBURGS Braukunstkeller, HACKLBERG | |||
Pac Bev | AND UNION, L’OLMAIA, BALADIN, CREW REPUBLIC | |||
Beerlicious | Ale Browar, Feral | |||
Cold Chain Craft | Heart of Darkness, Epic, Liberty |
รายชื่อนี้เป็นรายชื่อคร่าวๆ เท่าที่ผมรู้หากผู้นำเข้าท่านใด ต้องการให้เพิ่มกรุณาแจ้งที่ art@teerapat.com หรือในเพจก็ได้ครับ
แต่ละเจ้าอาจจะมีขั้นต่ำนในการสั่งไม่เท่ากัน เจ้าไหนให้เยอะ อาจจะใช้วิธีหารกับเพื่อนๆ
สำหรับคราฟท์ไทยก็ใช้วิธีเดียวกันหรือติดต่อไปยัง Distributor อย่างเช่น
ชื่อผู้นำเข้า | ตัวอย่างยี่ห้อเบียร์ | |||
---|---|---|---|---|
Group B Beer | เหน่อ, Nectar, Silom, Castown | |||
Yummy House | Stone head, Triple Pearl |
ระบบการเสิร์ฟและการจัดเก็บ
การเก็บเบียร์นั้นควรจะต้องเก็บเย็นตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเบียร์ขวดหรือสด เบียร์ขวดจะง่ายหน่อยสามารถหาซื้อตู้เย็น 1 บาน 2 บาน 3 บาน มาตั้งที่ร้านได้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้นเบียร์ที่ยังไม่ได้ขายก็ควรจะแช่เย็นทั้งหมด เพื่อให้เบียร์คงสภาพดีที่สุดครับ อย่างพวกเบียร์ IPA หากไม่เก็บเย็นความฮอปปี้ก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับระบบเบียร์สดก็มีแยกย่อยไปอีกหลายระบบ วิธีง่ายๆ ก็อาจจะเจาะแทปเข้าไปที่หลังตู้เย็น มีเรื่องที่ต้องคำนึงก็คือจำนวนแทปที่เราของร้านเรา ต้องคาดคะเนจำนวนลูกค้าต่อวันปริมาณเท่าไหร่ เพราะเบียร์เป็นสินค้ามีอายุ ถ้าจัมป์ทิ้งไว้นานๆ คุณภาพก็จะตกลงได้ นอกจากนี้ระบบเบียร์สดจะต้องมีการดูแลและทำความสะอาดทุกวัน เพื่อให้เบียร์อยู่ในคุณภาพดีที่สุดก่อนเสิร์ฟ
สำหรับคนทำระบบ เราสามารถปรึกษากับเซลส์ผู้นำเข้าได้ หรือติดต่อกับผู้ทำระบบโดยตรง ผมขอแนะนำพี่ชาย 2 ท่าน ที่คนหลายๆ คนใช้บริการนั่นก็คือ
1. พี่คมสันต์ icoolbar.com 080-295-3566
2. พี่เก่ง 080-241-0243

ตัวอย่างระบบหัวแทปเบียร์สดที่ใช้วิธีเจาะทะลุหลังตู้แช่ (ขอบคุณรูปจากร้านบ้านดอกแก้ว พระราม 6)

ตัวอย่างระบบหัวแทปเบียร์สด (ขอบคุณรูปจากร้าน MASH สีลม)

ตัวอย่างตู้แช่เบียร์ขวดแบบสองบาน (ขอบคุณรูปจากร้าน Jim’s Burger อารีย์)
แก้วเสิร์ฟเบียร์
แก้วเบียร์ที่เป็นยี่ห้อเบียร์ส่วนมากเซลส์จากผู้นำเข้าจะมีให้กับร้านค้าต่างๆ อยู่แล้วครับ แต่ถ้าหลายอยากมีแก้วเป็นลายร้านตัวเองด้วย ถ้าขนาดร้านไม่ใหญ่อาจจะใช้วิธีติดสติกเกอร์ใสเอาเพราะจะประหยัดต้นทุนในการผลิตไปได้เยอะ แต่ถ้างบไม่ใช่ปัญหา โรงงานที่รับผลิตแก้วพร้อมลาย โดยมีรูปแบบแก้วให้เลือกได้ด้วย ก็จะมี 2 เจ้าใหญ่คือ
1. Ocean Glass 02-661-6556
2. Lucky Glass 02-420-3873
*เพิ่มเติมอีกหนึ่งเจ้าที่น่าสนใจคือแก้ว Spiegelau จากบริษัท Great Earth 02-255-1168 ซึ่งมีแก้วที่ออกแบบให้เหมาะสมกับเบียร์ชนิดต่างๆ แต่ราคาจะสูงพอสมควรครับ
โดยราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนที่สั่งผลิต สั่งมากราคาต่อหน่วยก็ยิ่งถูก และจะมีขั้นต่ำในการสั่งผลิตด้วย
มีอีกเรื่องที่ต้องดูเพิ่มเติมก็คือเรื่องขนาดของแก้วเพราะจะเชื่อมโยงกับการตั้งราคา ปริมาณเสิร์ฟส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 250ml, 330ml, 473ml และ 500ml โดยเบียร์ขวดเล็กจะอยู่ที่ประมาณ 330-355ml ครับ

ตัวอย่างแก้วจากผู้นำเข้าเบียร์ (ขอบคุณรูปจากร้าน Jim’s Burger อารีย์)

ตัวอย่างแก้วสกรีนลายร้าน (ขอบคุณรูปจากร้าน Taopiphop Bar Project)

ตัวอย่างแก้ว Spiegelau
โลเคชั่นและสัญญาเช่า
เรื่องสถานที่ตั้งร้าน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างกว้างพอสมควร และมีหลายปัจจัย ซึ่งตัวผมเองก็ไม่มีประสบการณ์มากนัก เคยเช่าก็แบบนิดๆหน่อยๆ เจ้าของที่ก็ค่อนข้างใจดี มีได้ยินมาจากเพื่อนๆ ก็จะมีประมาณว่า ขึ้นค่าเช่า อะไรอย่างนี้ หรือสถานที่ที่เราไปเช่าสามารถเปิดร้านขายแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ถ้าใกล้โรงเรียนใกล้วัดก็จะเปิดไม่ได้ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องเพื่อนบ้าน ร้านใกล้เคียง ที่เป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ ถ้าไม่ถูกกันนี่เหนื่อยแน่นอนครับ เรื่องสัญญาพยายามทำให้รัดกุมมากที่สุด คุยข้อตกลง ข้อห้าม อะไรให้ครบก่อนเช่าครับ
ส่วนที่ว่าจะไปตั้งย่านไหน จะมีคนมาไหม ที่จอดรถ อันนี้อาจจะต้องศึกษาและทำการบ้านเพิ่มเติมเองครับ บางร้านไปตั้งที่แปลกๆ แล้วฮิตคนไปแวะประจำก็มี บางร้านไปตั้งโซนแบบ Red Ocean แข่งกันสูง ค่าเช่าแพง ไม่รอดก็เยอะ

ร้านบ้านดอกแก้ว เป็นบ้านไม้โบราณ เป็นอีกหนึ่งจุดขายที่ดี มีกิมมิค
กิจกรรมต่างๆ
อีกหนึ่งเรื่องพื้นฐานแต่ก็ใช้งานได้ดีก็คือการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้แวะเวียนมายังร้านเราครับ เช่นอาจจะมี Food Truck มา สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไป อาจจะทุกศุกร์หรือเสาร์ เช่นร้าน Turtle Bar ก็จะมีวนมาตลอด Hot Yarf บ้าง Teppan Man บ้าง
หรืออย่าง Beer Sharing ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจครับ อาจจะเป็นเบียร์ขวดใหญ่ เบียร์แอลกอฮอล์สูง เซ็ตเบียร์ตัวหายากๆ หรือถ้าเป็นเบียร์หิ้วจากนอกมา คนก็จะยิ่งสนใจใหญ่ อาจจะฟรี หรือคิดเงินก็แล้วแต่ทางเราจะจัดการเลย
หรืออีกอย่างก็อาจจะจัดกิจกรรมที่ฉีกไปเลยไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องเบียร์ก็สร้างความแปลกใหม่ได้เช่นกัน ที่ผมเคยเห็นหลายร้านจัด ก็อาจจะมีคุยกับคุณหมอเรื่องสุขภาพบ้าง จัดเขียนโปรแกรมบ้าง (ร้าน Code Craft) จัดปลูกต้นไม้ในขวดแก้ว (terrarium) (ร้าน Daddy G’s)

หม่าล่ากะทะร้อนจากร้าน Hot Yarf
เรื่องอื่นๆ
เรื่องอื่นที่ควรรู้ก็จะมีอย่าง เช่น
1. ต้องมีการไปขอใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบียร์
3. การสอนพนักงาน ทั้งเรื่องเบียร์เรื่องการบริการ
4. อาจจะต้องดูเรื่องระบบเก็บเงิน ระบบ POS
5. รับผิดชอบต่อสังคม ถ้าลูกค้าเมาแล้ว ก็ไม่ควรจะขายให้แล้ว ฮ่าๆ
บทความนี้เป็นประสบการณ์ ความรู้ ที่ผมได้รับ ได้เจอได้เห็นได้ฟังมา ทั้งจากตัวเองและเรื่องราวของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คงจะไม่ได้เป็น How to ที่เอาไปเปิดร้านแล้วรวยเลย ถือเป็นการแชร์ข้อมูลและประสบการณ์มากกว่าครับ อาจจะยังขาดในอีกหลายมุม ยังไงใครมีอะไรเสนอแนะ เพิ่มเติม หรืออยากสอบอะไร จะพยายามตอบเท่าที่รู้ครับ
ขอบคุณเนื่อหาดีๆจากเพจ teerapat ครับ ^_^
WHAT IS A DIRECT DRAW BEER DISPENSING SYSTEM?
Self-contained keg beer storage & dispensing system incorporates a “cold air” supply to the draft beer tower. Keg storage cabinet is thermostatically controlled. Can be installed with a remote refrigeration unit where space is a problem.
Self-Contained Stationary Dispensing

Wall Mounted Direct Draw (Dispensing Directly Through A Wall)
A walk-in cooler stores both the kegs and the beer lines for delivery of products to shanks mounted directly through a wall. A drip tray mounts to the outside wall to contain any spillage. Beer is dispensed at the same temperature it is stored in the walk-in. Performance Tip: The walk-in should be dedicated to keg beer, with a minimum amount of walk-in traffic in order to maintain keg temperatures.

ขอบคุณเนื้อหาดีๆจากเพจ micromatic