2021 Year of Food Delivery

Food Delivery

พัฒนาการของ “Food Delivery” เป็นหนึ่งในบริการที่อยู่คู่กับธุรกิจร้านอาหารมายาวนานแล้ว แต่ที่ผ่านมาเป็นลักษณะแต่ละร้านอาหารให้บริการเอง และถ้าเป็น Food Delivery ที่ทำในรูปแบบระบบออเดอร์ชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเชนร้านอาหารขนาดใหญ่ นับตั้งแต่ Call Center มาถึงยุคอินเทอร์เน็ต ได้ขยายช่องทางการสั่งอาหารผ่านออนไลน์

กระทั่งการเกิดขึ้นของแพลตฟอร์ม Super App ที่หนึ่งในนั้นมีบริการ Food Delivery โดยแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น “Food Aggregator” รวบรวมร้านอาหาร ทั้งรายเล็กที่เป็นสตรีทฟู้ดทั้งหลาย ขนาดกลาง และเชนร้านอาหารใหญ่มาอยู่บนแพลตฟอร์ม โดยใช้ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในการเป็น Tech Company ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี และฐานผู้ใช้งานจำนวนมาก

ทว่าที่ผ่านมาการขยายตัวของบริการ Online Food Delivery เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การเกิดขึ้นของสถานการณ์ COVID-19 ในปี 2020 กลายเป็น “ตัวเร่ง” ให้ Food Delivery ทั้ง Own Channel ของร้านอาหารเอง และ Food Aggregator เติบโตอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มดังกล่าวยังคงต่อเนื่องมาถึงปี 2021

Food Delivery Application

ทุกวันนี้ Food Delivery เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนไปแล้ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ทั่วโลก และที่สำคัญพลิกโฉม Landscape ธุรกิจร้านอาหารมากมาย

นั่นเพราะโมเดลธุรกิจร้านอาหารต่อจากนี้ ไม่พึ่งพิงการให้บริการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือช่องทางใด ช่องทางหนึ่งเท่านั้น หากแต่ต้องกระจายความเสี่ยง และสร้างรายได้จาก 4 ขาหลัก คือ

1. รายได้จากบริการ Dine-in หรือบริการนั่งรับประทานภายในร้าน

2. รายได้จากบริการ Take Away หรือซื้อกลับ

3. รายได้จากโมเดล Grab and Go ด้วยการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับการซื้อง่าย สะดวก รวดเร็ว

4. รายได้จากบริการ Food Delivery ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง/แพลตฟอร์มของร้านอาหารเอง หรือยอมจ่าย GP ให้กับแพลตฟอร์ม Food Aggregator เพื่อนำร้านไปอยู่ในนั้น ซึ่งจะทำให้ร้านอาหารมีฐานลูกค้ากว้างขึ้น เพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น

Grab and Go
ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารนิยมทำโมเดล Grab and Go เพราะตอบโจทย์ความสะดวก ง่าย และรวดเร็วของผู้บริโภค

Research and Markets รายงานมูลค่าตลาด Online Food Delivery ทั่วโลก

– ปี 2019 มูลค่า 107.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

– ปี 2020 มูลค่า 111.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 3.61% ปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์​ COVID-19 ทำให้ผู้คนทั่วโลกใช้บริการ Online Food Delivery มากขึ้น

– ปี 2030 คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด Online Food Delivery จะเพิ่มขึ้นเป็น 154.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อมองมายังประเทศไทย ปัจจุบัน Food Delivery อยู่ในทิศทางเดียวกันทั่วโลก นั่นคือ เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งผู้ใช้งาน และผู้ให้บริการ ประกอบด้วยกลุ่มหลักๆ คือ

– กลุ่มเชนร้านอาหารรายใหญ่ เช่น ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป (The Minor Food Group) ซีอาร์จี (CRG) สร้างช่องทางให้บริการ Delivery ของตัวเอง ควบคู่กับการจับมือกับแพลตฟอร์ม Food Aggregator

– แพลตฟอร์ม Food Aggregator ที่ทั้ง Tech Company รายใหญ่จากต่างประเทศ 4 รายคือ Grab, Gojek, LINE MAN, Food Panda และสตาร์ทอัพไทย พัฒนาแพลตฟอร์ม Delivery ด้วยเช่นกัน

– กลุ่มธนาคาร พัฒนาแพลตฟอร์มตอบโจทย์ทั้งธุรกิจร้านอาหาร และผู้ใช้งาน และผู้ใช้งาน เช่น กลุ่ม SCB พัฒนาแพลตฟอร์ม Robinhood ชูจุดเด่นไม่มีค่า GP และ KBTG บริษัทในเครือกสิกรไทย เปิดตัว Eatable บริการสั่งอาหารครบวงจร ทั้ง Dine-in, Dine-out และ Delivery

ส่งให้มูลค่าตลาด Food Delivery ในไทย เป็น Sunrise Market ที่เติบโตทุกปี

SCB Robinhood
แอปพลิเคชัน Robinhood ของกลุ่ม SCB

ข้อมูล Euromonitor และ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานมูลค่าตลาด Food Delivery ในไทยตั้งแต่ปี 2014 – 2024

ปี 2014: 42,000 ล้านบาท

ปี 2015: 45,000 ล้านบาท

ปี 2016: 49,000 ล้านบาท

ปี 2017; 53,000 ล้านบาท

ปี 2018: 58,000 ล้านบาท

ปี 2019: 61,000 ล้านบาท

ปี 2020: 68,000 ล้านบาท

ปี 2021 (คาดการณ์): 74,000 ล้านบาท

ปี 2022 (คาดการณ์): 82,000 ล้านบาท

ปี 2023 (คาดการณ์): 90,000 ล้านบาท

ปี 2024 (คาดการณ์): 99,000 ล้านบาท

ปัจจัยการเลือกใช้แพลตฟอร์ม Food Delivery หลักๆ ผู้บริโภคจะพิจารณาจาก ความเร็วในการจัดส่ง จัดส่งอาหารถูกต้องตามที่ออเดอร์ไป โปรโมชัน และอัตราค่าส่งสมเหตุสมผล คุณภาพบริการของพนักงานจัดส่ง และความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ

Food Delivery LINE MAN

ขณะเดียวกันการเติบโตของ Food Delivery มีผลต่อการปรับเปลี่ยนการออกแบบร้านเข่นกัน เช่น

– ปรับพื้นที่ภายในร้านอาหารเดิม ด้วยการขยาย “พื้นที่ครัว” ใหญ่ขึ้น โดยบางร้านใช้วิธีปรับลดจำนวนที่นั่งในร้านลง พร้อมทั้งจัดสรรสัดส่วนจุดรออาหารชัดเจน

– เปิดร้านขนาดเล็กลง เน้นให้บริการ Food Delivery และ Take Away เป็นหลัก

– ร้านอาหาร และเชนร้านอาหารบางราย เปิด Cloud Kitchen รองรับ Delivery โดยเฉพาะ เพื่อขยายรัศมีการจัดส่งให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น

ดังนั้น แนวโน้มปี 2021 ที่สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลก รวมทั้งไทยยังไม่คลี่คลาย จึงยังคงเป็นปีทองของธุรกิจ Food Delivery ต่อไปอีก

Grab

 

เผยอินไซต์ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 ‘ใครคือลูกค้าหลัก-เมนูไหนฮิต-ช่วงใดขายดีสุด’ และ ‘ร้านอาหารควรปรับตัวอย่างไร’

เปิดข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับ Food delivery ช่วงโควิดระลอก 3 เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564 ใน 6 จังหวัดที่ต้องห้ามให้ลูกค้านั่งกินในร้าน ทั้ง ‘ใครเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก-ร้านประเภทไหนยอดสั่งเยอะสุด-เมนูใดยอดฮิต-ช่วงวันเวลาไหนขายดี’ เพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารปรับตัวและกลยุทธ์ให้รอดจากวิกฤตได้

LINE MAN Wongnai ได้เปิดเผยสถิติล่าสุดของผู้บริโภคในช่วงโควิดระบาดรอบล่าสุด (พฤษภาคม-มิถุนายน 2564) เพื่อเป็นแนวทางให้ร้านในพื้นที่ควบคุม 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม ได้ปรับตัวให้เหมาะสมกับผู้บริโภคช่วงนี้ โดยพบเทรนด์น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

5 เขต-อำเภอที่มีคนสั่งมากที่สุด

1.อำเภอเมือง สมุทรปราการ 2.อำเภอเมือง นนทบุรี 3.อำเภอบางพลี สมุทรปราการ

4.อำเภอบางบัวทอง นนทบุรี 5.อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี

ภาพที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เทรนด์ที่เปลี่ยนไปจากช่วงก่อนหน้าคือ ‘พื้นที่นอกกรุงเทพฯ’ ติดอันดับพื้นที่ที่มีคนสั่งมากที่สุด เพราะคน Work from Home กันมากขึ้น ขณะที่พื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่มีคนสั่งมากที่สุด คือ เขตจตุจักร (อันดับ6)และลาดกระบัง (อันดับ10)

ส่วนแชมป์เก่า ‘เขตกรุงเทพฯชั้นใน’ อย่าง ปทุมวันและวัฒนา กลับไม่ติด Top 10 ซึ่งหมายถึงเป็นโอกาสดีของร้านรอบนอกกรุงเทพฯ ส่วนร้านในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพฯ ก็ลำบากขึ้นเพราะผู้บริโภคหายไปจากในเมือง

ประเภทของร้านอาหารที่คนนิยมสั่งเดลิเวอรีสูงสุด ได้แก่

1.ร้านกาแฟ 2.ร้านอาหารจานเดียว 3.ร้านอาหารตามสั่ง 4.ร้านก๋วยเตี๋ยว 5.ร้านอาหารไทย

ข้อมูลนี้เปลี่ยนไปจากปี 2563 คือ ‘ร้านกาแฟ’ กลับมาเป็นที่นิยมติดอันดับ 1 (เดิมอันดับ 7) ส่วน ‘ร้านก๋วยเตี๋ยว’ ตกไปอยู่อันดับ 4 (เดิมอันดับ 1) ‘ร้านฟาสต์ฟู้ด’ ขึ้นมาเป็นอันดับ 7 (เดิมไม่ติด Top 10) ขณะที่ ‘ร้านอาหารเกาหลี/ญี่ปุ่น’ หลุดโผ Top 10 ครั้งแรก

 

สัดส่วนอายุของผู้บริโภคที่สั่งเดลิเวอรี

0-19 ปี            6.2%

20-24 ปี          22.8%

25-29 ปี          21.9%

30-34 ปี          22.4%

35-39 ปี          15.2%

40 ปีขึ้นไป       11.4%

จากสถิตินี้ ทำให้ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก กลุ่มวัยเรียนและ First Jobber อายุ 20-24 ปี เป็นกลุ่มที่มีสั่งเดลิเวอรีสูงสุด ตามด้วยกลุ่มวัยทำงานอายุ 30-34 ปี และ 25-29 ปี หากแบ่งเป็นเพศ จะพบว่า คนที่ใช้บริการ Food delivery ส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง 71.11% และ เพศชาย 28.89%

 วันและเวลาที่มีการสั่งเดลิเวอรีสูงที่สุด

วันอาทิตย์, วันศุกร์ และวันเสาร์ เป็นวันที่มีออร์เดอร์สูงที่สุดตามลำดับ

ส่วนช่วงเวลาที่มีออร์เดอร์สูงที่สุดคือ 11:00-12:00 น., 12:00-13:00 น. และ 13:00-14:00 น. แล้วเว้นช่วงมาเป็นมื้อเย็น 18:00-19:00 น. และ 19:00-20:00 น. โดยระยะทางเฉลี่ยที่ผู้ใช้ LINE MAN สั่งอาหารคือ 3.19 กิโลเมตร ซึ่งลดน้อยลงจากในอดีต

ดังนั้น สรุปได้ว่า ‘ศุกร์-อาทิตย์’ เป็นเวลาแห่งเดลิเวอรี และควรเน้นกลางวันมากกว่าเย็น  รวมถึงควรเปิดร้านให้เช้าขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

10 เมนูที่ถูกสั่งเยอะสุด

1.กาแฟ 2.ชา 3.โกโก้ 4.ตำปูปลาร้า 5.คอหมูย่าง 6.ข้าวมันไก่ 7.ลาบหมู 8.หมูปิ้ง 9.หมูสามชั้น และ 10.ปาท่องโก๋ ตามลำดับ

*โดยราคาเฉลี่ยต่อจานที่คนกดสั่งมากที่สุด คือ 60-70 บาท

 เมนูที่ถูกสั่งตามช่วงเวลามากสุด

ช่วงเช้า (6:00-9:00 น.) – กาแฟ, หมูปิ้ง, ปาท่องโก๋, ชา, โกโก้, ข้าวมันไก่, โจ๊ก, ต้มเลือดหมู, ไข่ลวก และโก๋กรอบ ตามลำดับ

ช่วงกลางวัน (9:00-21:00 น.) – กาแฟ ยังคงเป็นเมนูที่ถูกสั่งเยอะที่สุดในช่วงกลางวัน ตามมาด้วย ชา, ตำ, คอหมูย่าง, โกโก้, ลาบหมู, ข้าวมันไก่, หมูสามชั้น, ข้าวผัด และแซลมอน/แซลมอนเบิร์น

ช่วงค่ำ (หลัง 21:00 น.) – นิยมอาหารอีสาน ได้แก่ หมูสามชั้น, ตำ, คอหมูย่าง และลาบหมู ตามมาด้วย ข้าวต้ม, ไส้กรอก, ข้าวมันไก่, ข้าวผัดหมู, ส้มตำ และยำ

สรุปธุรกิจร้านอาหารต้องปรับกลยุทธ์อย่างไร

จากข้อมูลดังกล่าว ‘ต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี’ แห่งร้าน Penguin Eat Shabu และ ‘แทน-กิตติเดช วิมลรัตน์’ เจ้าของร้านกะเพรา เผ็ดมาร์ค และเจ้าของเพจ ITAN-ไร้เทียมทาน ได้สรุปให้เห็นถึงเทรนด์และการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารไว้น่าสนใจหลายประเด็น

-มูลค่าตลาดเล็กลง ผู้เล่นในตลาดเยอะขึ้น เพราะเมื่อดูมูลค่าธุรกิจร้านอาหารจะเห็นว่า ในปี 2561 อยู่ที่ 420,000 ล้านบาท ในปี 2562 โตขึ้น 3% คิดเป็มูลค่ากว่า 435,000 ล้านบาท แต่ในปี 2563 ที่มีการระบาดของโควิด 19 ทำให้ตลาดโตลดลง 6% มีมูลค่าต่ำกว่า 405,000 ล้านบาท และดูมูลค่าของธุรกิจนี้จะลดลงเพิ่มไปอีกในปี 2564

ขณะที่จำนวนร้านอาหารนั้น มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 มีอยู่ราว 259,394 ร้าน  ปี 2562 อยู่ที่ 332,499 ร้าน เพิ่มขึ้น 28% และในปี 2563 มีจำนวน 539,151 ร้าน เพิ่มขึ้น 62%

-กลุ่มอายุ 20-34 ปี เป็นกลุ่มที่มีการสั่งเดลิเวอรีมากสุด แต่ไม่ได้หมายความว่า กลุ่ม 35 ปีขึ้นไปจะไม่น่าสนใจ เพราะกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ ดังนั้นร้านอาหารควรมีการวางแผนในการโฟกัสลูกค้ากลุ่มนี้แบบเฉพาะ เช่น มีเมนูที่ตอบโจทย์ความต้องการ อาทิ อาหารคลีน เป็นต้น

-การทำการตลาดและการสื่อสารควรโฟกัสไปที่เพศหญิง เพราะเป็น 3 ใน 4 ของกลุ่มที่สั่งเดลิเวอรีทั้งหมด

-วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คือ เวลาทองของเดลิเวอรี

-หากต้องการทำเดลิเวอรี ควรเปิดร้านตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00-10.00 น. เพื่อเตรียมตัวรองรับออเดอร์ที่จะเข้ามามาก เพราะดูสถิติของ LINE MAN Wongnai จะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่มีออร์เดอร์สูงที่สุด เริ่มตั้งแต่ 11:00 น.เป็นต้นไป

-การขายเครื่องดื่ม จะช่วยเพิ่มยอดขายต่อบิลให้กับร้านได้ เพราะเครื่องดื่มทั้ง กาแฟ ชา และโกโก้ เป็น 3 เมนูแรกที่คนสั่งผ่านเดลิเวอรีมากที่สุด

-อาหารที่เหมาะกับเดลิเวอรี นั่นคือ อาหารจานเดียวหรืออาหารทานง่าย ดังนั้นร้านอาหารควรมีการคิดเมนูประเภทนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย

-อาหารไทยได้รับความนิยมมากกว่าอาหารต่างชาติในเดลิเวอรี ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นโจทย์ที่ร้านอาหารต่างชาติต้องนำไปคิดแก้เกม

-การตั้งราคาอาหารควรเฉลี่ยต่อจานที่ 60-70 บาท เพราะเป็นราคาที่คนกดสั่งซื้อมากที่สุด

 

ขอบคุณความรู้ดีๆจากเพจ brandbuffet และ marketingoops ครับ ^_^

Visitors: 118,095