คำนวณค่าไฟฟ้าด้วยตนเอง

 

วิธี คำนวณค่าไฟฟ้า ด้วยตนเองสามารถทำได้อย่างไร

เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคที่เศรษฐกิจไม่สู้ดีเท่าไรนัก ส่งผลให้ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายหลาย ๆ อย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ และค่าใช้จ่ายส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราจึงควรทราบวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายว่าที่ผ่านมานั้น ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไร และมีวิธีการในการ ลดค่าไฟ อย่างไร

 

ค่าไฟฟ้าสามารถคำนวณได้โดยวิธีง่าย  ๆ ดังนี้

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าอัตราค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้ไฟมากน้อยเพียงใด โดยจะต้องสังเกตว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละเครื่องมีกำลังไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็นวัตต์เท่าไร ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำนวนวัตต์มาก ก็หมายความว่าจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปด้วย  ดังนั้นก่อนที่จะทำการคำนวนค่าใช้ไฟฟ้า จะต้องสำรวจว่าภายในที่อยู่อาศัยนั้นมีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทไหนบ้า ง และเปิดใช้งานประมาณเดือนละกี่ชั่วโมง จากนั้นนำมาคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าด้วยสูตรดังต่อไปนี้

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷  1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

 

ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้า ของบ้านพัก A ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 ชนิดดังนี้

 

  •          หลอดไฟขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวงเปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของหลอดไฟ คือ 50 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 10 ดวง ÷ 1000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

 

  •          ไมโครเวฟขนาด 600 วัตต์จำนวนหนึ่งเครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 600 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 0.5 ชม. = 0.3 หน่วย/วัน (เดือนละ 9 หน่วย)

 

  •          ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์หนึ่งตู้เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 125 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 ตู้ ÷ 1000 x 24 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

 

  •          แอร์ขนาด 2000 วัตต์จำนวน 2 เครื่องเปิดใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 2000 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 2 เครื่อง ÷ 1000 x 6 ชม. = 24 หน่วย/วัน (เดือนละ 720 หน่วย)

 

  •          เตาอบ ขนาด 850 วัตต์จํานวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 30 นาที

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 850 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 0.5 ชม. = 0.425 หน่วย/วัน (เดือนละ 12.75 หน่วย)

  •          เครื่องชงกาแฟขนาดเล็ก 100 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิด 1 ชั่วโมง  

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 100 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 1 ชม. = 0.1 หน่วย/วัน (เดือนละ 3 หน่วย)

 

  •          ทีวี ขนาด 300 วัตต์ จํานวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 5  ชั่วโมง

 

วิธีคำนวณ

 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์) คือ 300 วัตต์ x มีจำนวนทั้งหมด 1 เครื่อง ÷ 1000 x 5 ชม. = 1.5 หน่วย/วัน (เดือนละ 45 หน่วย)

 

 

สรุปได้ว่าบ้านพัก A จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 969.75 หน่วยต่อเดือน

 

วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า

 

บ้านพัก A นั้นใช้ค่าไฟฟ้าไปประมาณ 969.75 หน่วยต่อเดือน ดังนั้นจะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

 

  •          35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท

 

  •          115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 115 x 1.1236 บาท รวมทั้งสิ้น 129.21 บาท

 

  •          250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท = 250 x 2.1329 บาท รวมทั้งสิ้น 533.23 บาท

 

  •          ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226บาท = (969.75 - 400) = 569.75 x 2.4226บาท) 1,380.28 บาท

 

 

รวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23  + 1,380.28) = 2,127.93 บาท

 

ทั้งนี้รายละเอียดข้างต้นเป็นวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าในเบื้องต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการทราบค่าไฟฟ้าที่แม่นยำ สามารถตรวจสอบค่าใช้ไฟฟ้าได้ที่ 

http://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11

Visitors: 118,105